วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปฏิวัติ 2557ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องคง กฎอัยการศึก ไว้

ปฏิวัติ 2557ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องคง กฎอัยการศึก ไว้ ดี ไหม

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิกฤติปี40

วิกฤติปี40 กว่า 20000 อาคาร  ค่าเงินลดไประดับ 50 กว่าบาท แต่เจ้าหนี้เงินกู้ต่างประเทศส่วนใหญ่ ลดหนี้ให้ 20-60 % สำหรับอาคารที่หาทุนสร้างต่อได้ วงการอสังหาริมทรัพย์ที่กู้เงินจำนวนมหาศาลได้รับประโยชน์เต็มๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินทุนสำรองทางการถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมด มาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท  ธปท. ได้ใช้เงินไปไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนล้านบาท โดยการออกพันธบัตร   มาดูดซับเงินดอลลาร์เข้าไปสำรองไว้เป็นเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 63,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.1 ล้านๆบาท  เพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนส่งผลกระทบกับผู้ส่งออก ขณะที่ต้องแบกรับภาระอัตราดอกเบี้ยในอัตราสูงถึง 5%

เดือนมีนาคม 2540 รัฐบาลใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ต่าง ๆ สิ้นเงินไปมากกว่า 6 แสนล้านบาท แต่สุดท้ายต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 และปิดอีก 42 บริษัท เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน

      
สาเหตุของวิกฤตปี 2540   https://th-th.facebook.com/notes/498519743516837/

1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ในช่วงที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็มีการขาด

ดุลตั้งแต่ปี 2530 และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2539 ประเทศไทยต้องประสบ

ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากการส่ง

ออกที่หดตัวลง 1.9% จากที่เคยขยายตัวสูงในปีก่อนหน้าถึง 24.82% สะท้อนให้เห็นสถานะ

รายได้ของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในระดับสูงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนา

เศรษฐกิจที่เนินการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ

2.ปัญหาหนี้ต่างประเทศ
การเปิดเสรีทางการเงินเมื่อปี 2532-37 ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่าง

ประเทศได้สะดวก โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินที่กำหนดไว้ที่ 25

บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ผู้กู้ยืมสามารถยืมเงินและคืนเงินกู้ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้

ใน อัตราดังกล่าว ซึ่งเป็นผลจากการที่ไทยประกาศรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของกองทุนการ

เงินระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเปิดระบบการเงินของไทยสู่สากล และในเดือน

เมษายน พ.ศ. 2534 ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เดือนกันยายน

2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย(Bangkok

International Banking Facilities : BIBF) มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบ

อนุญาตให้ดำเนินการได้เมื่อเดือนมีนาคม 2536 ทำให้เกิดการขายตัวของระบบการเงิน

ของประเทศที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ด้อยสภาพขึ้นมากในสถาบันการเงินและการกู้เงินจาก

สถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย ณ ปลายปี 2540 หนี้ต่าง

ประเทศของไทยเพิ่มขึ้นในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะหนี้ต่าง

ประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้


ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40%

การเปิด BIBF และการลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7 %  เพื่อต่อรองหนี้เงินกู้ ผลงานของ ไทย เดโมแครต