ระบบส่วนแบ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า
แต่ระบบสัมปทาน ควรมีการบังคับให้สำรองขายในประเทศก่อน
ถ้าเปิดตอนนี้ราคาน้ำมันต่ำ จะทำให้ ปตท.ชนะการประมูลครับ เป็นผลดีต่อประเทศ
แต่ภายใต้การปิดล้อมจีน ถ้าไม่มีบริษัทน้ำมันอเมริกันมาหุ้นด้วย ประเทศเราจะไม่มีข้อแก้ตัวกับจีน ในกรณีเกิดสงครามปิดล้อมพลังงาน
แต่ทั้งนี้ควรเปิดสัมปทานในอีก2-3ปี ข้างหน้า อาจจะระงับโครงการไปก่อน เพื่อศึกษารอยเลื่อนการมุดตัว และผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เกี่ยวกับการตั้งแท่นขุดเจาะในเวลานานๆที่นานจนเกินไป
แบบที่รัสเซียและโอเปค ยอมทนลำบากกับราคาตกต่ำก็เพื่อการนี้ แบบว่าเบื่อสงครามแล้ว
ทางทฤษฎี ปูตินสมควรได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพด้วย เพราะวิฤติการณ์ไครเมีย ทำให้การที่จีนเจรจาซื้อก๊าซรัสเซียเพิ่มมาสามสิบปีประสบความสำเร็จในแนวเพาเวอร์ออฟไซบีเรีย เพราะแนวท่อก๊าซมณทลซินเกียงไม่สเถียร เนื่องจากการดำเนินนโยบายแบบสองด้านกับจีน ทางหนึ่งสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้จีนเปิดประเทศให้จีนเป็นโรงงานของโลกนำของไปขายได้ค่าแรงราคาถูก แต่สนับสนุนชาวซินเจียงอุยกูร์ให้ก่อหวอดแยกประเทศ ปิดล้อมพลังงานจีน ให้จีนซื้อพลังงานในราคาสูงตลอดมา เพื่อดูดเงินกลับ แต่ส่วนนึง วิฤติการณ์ไครเมีย ก็เกิดขึ้นได้เพราะ ซีนูกไปลงทุนด้านพลังงานนอกประเทศ พม่า รวมทั้งในตะวันออกกลางด้วย
เศรษฐกิจโลกจะลดการชลอตัวเพราะราคาน้ำมันลดลง มีผลกับจีนโดยนัยสําคัญ แต่ทั้งนี้การช้อนซื้อพลังงานล่วงหน้าเป็นเวลานานๆก็อาจจะเกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะความจริงแล้ว พลังงานมีต้นทุน ต้นทุนสิ่งแวดล้อมทางนิเวศน์วิทยาที่สูงมาก มีคุณค่าราคาที่ไม่ควรต่ำกว่าบาร์เรลละ 200 เหรียญ หลายๆประเทศหาขอซื้อโควต้าไม่ได้เลย
Global energy market over the next 25 years.
ตลาดพลังงานโลก ในอีก 25 ปี ข้างหน้า การนำเสนอข้อมูลจากเอ็กซอนโมบิล มีรายชื่อประเทศไทยอยู่ติดอันดับหนึ่งในสิบประเทศของประเทศพลังงานโลก
คาดว่าเป็นข้อมูลที่ Exxon Mobil ทำวิจัย
สภาพภูมิศาสตร์ธรณีวิทยาซีกตะวันตกของไทยจะคล้ายกับพม่า ที่มีพลังงานอยู่เยอะ แต่เนื่องจากปัญหาการปิดล้อมจีนที่ก่อตัวมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 เป็นปัญหาสำหรับการเปิดเผยพลังงงานสำรองของไทย ซึ่งทำให้ควรเปิดเผยในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอเมริกามีความคืบหน้า คือ หลังการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในช่วงหลังการเลือกตั้งสหรัฐในอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า
กรมทรัพยากรธรณีมีเป้าหมายในการติดตั้งเครื่องวัดคลื่นสั่นสะเทือนพื้นดิน เพื่อศึกษาพฤติกรรมรอยเลื่อนมีพลังครอบคลุมทุกอย่างรอยเลื่อน 60 แห่ง ครอบคลุมทุกกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่ปี 2549-2556 ได้ติดตั้งไปแล้ว 36 แห่ง เป็นแบบระยะเวลาสั้นๆ ชนิดออนไลน์ สามารถรับทราบข้อมูลแผ่นดินไหวได้ทันที 3 แห่ง และแบบระยะเวลาสั้นๆ ชนิดออฟไลน์ ไม่สามารถรับทราบข้อมูลแผ่นดินไหวได้ทันที 21 แห่ง ซึ่งปัจจุบัน กำลังปรับปรุงสถานีแบบออฟไลน์ ให้เป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด และสถานีใหม่ที่เหลือมีติดตั้งเครื่องมือวัดคลื่นสั่นสะเทือนพื้นดินแบบบอร์ดแบรน เซมิโมมิเตอร์ อย่างเรียลไทม์ (Real Time) พร้อมอุปกรณ์ด้วยระบบอัตโนมัติ แผนงานในการติดตั้งสถานีใหม่ที่เหลือในปี 2557 อีก 12 แห่ง อยู่ในขั้นตอนเสนอร่างทีโออาร์ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและคำวิจารณ์ครั้งที่ 7 และใน 2558 อีก 12 แห่ง อยู่ในขั้นตอนเสนอร่างทีโออาร์
แหล่งน้ำมันแหล่งแรกของไทย พศ.2464 ร้อยกว่าปีแล้วยังไม่หมด
แหล่งน้ำมันอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ มีการขุดเจาะมา กว่า 70 ปีแล้วยังไม่หมด
แหล่งน้ำมันอำเภอลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชร มีการขุดเจาะมา กว่า 30 ปีแล้วยังไม่หมด แหล่งนี้ใช้เวลาเพียงปีเดียวในการสำรวจพบเมื่อปี2524 แล้วเริ่มผลิตในปี2525
หลุมในบริเวณนี้ อาจจะมีการทดลองสำรวจมาตั้งแต่ ประมาณ ปี 2476 ภายใต้ความร่วมมือแมนฮัดตัน และส่งผลให้ กลุ่มทหารสยามมีทุนปฏิวัติ ในปี 2475 ซึ่งนายปรีดี ได้รับการ สนับสนุนแนวทางเสรีประชาธิปไตย จาก ฝรั่งเศสด้วย แต่แนวทางการขยายขนาดหลุมใต้ดินด้วยกรดนั้นจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากทำให้โครงสร้างบ่อหินขยายขนาดจนทะลุกัน แต่ลดต้นทุนการย้ายแท่นได้
แต่ทั้งนี้ น้ำมันที่ขุดเจาะในประเทศส่วนใหญ่ได้ถูกส่งไปกลั่นในต่างประเทศ เนื่องจากมีธาตุโลหะหนัก สูง เช่น สารปรอท และอาจมีสารประกอบฟอสเฟต ที่มียูเรเนี่ยมสูงด้วย แต่ทางการคงมองเรื่องความคุ้มหรือไม่คุ้มต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนมากกว่า เพราะสารประกอบฟอสเฟต นั้นใช้เป็นส่วนผสมส่วนน้อยของปุ๋ยเคมี ซึ่งประเทศไทยยังมีการนำเข้าอยู่ และปุ๋ยเคมีราคาถูก หรือต้นทุนต่ำ ที่นำเข้าจากบางแหล่งจะเป็นปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคสูง กว่าสารฟอสเฟตที่เหลือจากการกลั่นในประเทศซึ่งเป็นน้ำมัน จากสหรัฐอาหรับอมิเรท หรือ ประเทศอื่นในย่านโอเปค ที่มีธาตุโลหะหนักต่ำ แต่ช่วงนี้ชาวนาบางส่วนเริ่มมองเห็นข้อดีของเกษตรอินทรีย์แล้ว แต่ยังเป็นส่วนน้อย และฉลากปุ๋ยยังไม่มีการกำหนดเรื่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น